Wednesday, April 30, 2008

Mohammad Yunus

เพื่อช่วยผู้คนให้พ้นจากความยากจน - Banker of the Poor
Mohammad Yunus


Bangladeshi Nobel Peace Prize winner Muhammad Yunus is kissed by his daughter Dina after receiving the news that he won the award on Friday.
จากเวปไซต์http://www.msnbc.msn.com/

หากว่าคุณเป็นลูกเศรษฐี แล้วได้เรียนจบถึงระดับปริิญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา คุณจะนำวิชาความรู้ของคุณไปทำอะไร หลายคนคงคิดจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ไม่ก็นายธนาคารที่สามารถทำรายได้ได้มหาศาล Yunus ก็เป็นคนที่มีเงื่อนไขดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่เขาเลือกเส้นทางชีวิตต่างจากคนอื่นๆ

Mohammad Yunus เกิดในเมือง จิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ (East Pakistan ในอดีต) ในปี 1940 บังคลาเทศได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีพลเมืองซึ่งยากจนเป็นจำนวนมากมากติดอันดับต้นๆของโลก ภัยธรรมชาติทำให้หลายคนไร้ที่อยู่อาศัย หรือแม้กระทั่งงานทำ การศึกษาัยังไม่สามารถเข้าไปถึงผู้คนในประเทศได้อย่างเพียงพอ

Yunus เป็นลูกคนโตของครอบครัวพ่อค้าเพชรชาวมุสลิม เขามีพี่น้อง 9 คน ในวัย 4 ขวบ Yunus และครอบครัวย้ายบ้านไปอยู่ในตัวเมืองจิตตะกอง Yunus ได้เริ่มเรียนประุถมศึกษา ณ ที่นั้น

Yunus เป็นคนเรียนเก่ง ทำให้ได้มีโอกาสเรียนที่ Chittagong College ซึ่งเป็นมหาลัยชื่อดังในประเทศ ณ ที่นั้น Yunus เป็นแสดงความเป็นนักกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบังคลาเทศ และได้รับรางวัลด้านการแสดง หลังจากนั้น เขาได้เข้าศึกษาต่อคณะเศรษฐศาสตร์ที่ Dhaka University จนจบปริญญาตรี และปริญญาโท (1961)

หลังจากเีรียนจบ Yunus ได้ทำงานที่สำนักงานทางด้านเศรษฐศาสตร์ในตำแหน่งผู้ช่วยวิจัย ก่อนจะไปศึกษาต่อระดับ Ph.D. ที่ Vanderbilt University สหรัฐอเมริกา ในสาขา Economic Development หลังจากนั้นก็ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ Middle Tennessee State University อีก 3 ปี

ช่วงปี 1971 ซึ่งเป็นช่วงระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของบังคลาดเทศ Yunus ได้ก่อตั้งคณะกรรมการชาวบังคลาเทศขึ้น และดูแลศูนย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบังคลาเทศในสหรัฐอเมริกาเพื่อสนับสนุนการประกาศเอกราช นอกจากนี้เขายังจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ Bangladesh Newspaper ขึ้นอีกด้วย


หลังจากสงคราม Yunus กลับสู่บังคลาเทศ และได้เข้าทำงานในคณะกรรมการวางแผนทางเศรษฐกิจของประเทศ Yunus รู้สึกว่างานดังกล่าวเป็นงานที่น่าเบื่อ เขาลาออกมาเป็นคณบดีของคณะเศรษฐศาสตร์ ของ Chittagong University ณ ที่นี้ เขาได้ทำงานเกี่ยวกับการขจัดปัญหาความยากจน

หลังจากภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าที่เกิดขึ้นในปี 1974 เขาได้ตั้งโครงการเกี่ยวกับการวิจัยเศรษฐศาสตร์ทางภาคเกษตร หลังจากนั้นก็ไม่มีการจัดทำโครงการต่างๆในเวลาต่อมา

จนกระทั่งในปี 1976 เมื่อ Yunus ได้ไปเยี่ยมเยียมครอบครัวที่ยากจนที่สุดในหมู่บ้านโจบร้า ใกล้ Chittagong University เค้าค้นพบว่าการให้เงินกู้ปริมาณน้อย สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับคนยากจนได้ หญิงในหมู่บ้านโจบร้ามีอาชีพขายเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้ไผ่จำเป็นต้องกู้เงินดอกเบี้ยสูง เพื่อซื้อไม้ไผ่ ทำให้รายได้จากการขายเฟอร์นิเจอร์ต้องขาดหายไป

Yunus ลองให้หญิงในหมู่บ้านกว่า 42 คนกู้เงิน (เงินดังกล่าวนั้นรวม 27 ดอลลาร์สหรัฐจากกระเป๋าของเขาตอนนั้นด้วย) โดยมีกำไรประมาณ 2 เซนต์ ต่อการปล่อยกู้ต่อ 1 คน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของแนวคิด Micro Credit อันยิ่งใหญ่

จริงๆแล้ว Micro Credit ไม่ใช่ความคิดใหม่ มีการพยายามจัดสรรเงินกู้แบบเดียวกันให้กับชาวบ้านอยู่แ้ล้ว แต่สำหรับ Yunus ซึ่งได้บนเรียนมาจากหมู่บ้านโจบร้า ทำให้เขารู้ว่าการจะให้เงินกู้ดังกล่าวจะต้องให้กับคนยากจนผู้ซึ่งไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่เหมือนธนาคารทั่วไปที่พยายามจะไม่ปล่อยกู้ให้กับคนยากจน เพราะกลัวไม่ได้เงินคืน Yunus มองว่าการให้โอกาสคนยากจน จะทำให้พวกเขาลืมตาอ้าปากได้

หลังจากนั้นในเดือน ธันวาคม 1976 Yunus ได้ประสบความสำเร็จในการได้แหล่งเงินกู้จากรัฐ (Janata Bank) เพื่อปล่อยกู้ให้กับคนยากจนในโจบร้า ภายใน 6 ปี Janata Bank มีสมาชิกกว่า 28,000 คน และพัฒนามาเป็น Grameen Bank (Village Bank) ในปี 1983 (1 ตุลาคม) โดยมีเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อให้แ่ก่คนยากจนในบังคลาเทศโดยเฉพาะ Yunus และทีมของเขาต้องต่อสู้อย่างหนักกับกับทุกๆอย่าง ตั้งแต่กลุ่มซ้ายจัด จนถึงกลุ่มนักบวชอนุรักษ์นิยมที่ขู่หญิงชาวบ้านว่า ได้ไม่ได้รับอนุญาติให้เข้างานศพของมุสลิม หากรับเงินจาก Grameen Bank

ในเดือนกรกฎาคม 2007 Grameen Bank ได้ปล่อยสินเชื่อเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 6.38 พันล้านเหรียญ ให้แ่ก่ลูกหนี้กว่า 7.4 ล้านคน

สำหรับการสร้างความเชื่อมั่นในการได้เงินคืนจากชาวบ้านนั้น Grameen Bank ได้ใ้ช้ระบบ "Solidarity Groups" (กลุ่มสามัคคี) โดยให้กู้ยืมเงินเป็นกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มจะเป็นผู้คํ้าประกันให้กันและกันในการกู้ยืม นอกจากนี้ Grameen Bank ยังได้ขยายการช่วยเหลือออกไปในด้านอื่นๆอีก ตั้งแต่ปี 1980 เ่ช่น Grameen Motsho (Grameen Fisheries Foundation) Grameen Krishi (Grameen Agriculture Foundation) Grameen Trust Grameen Fund Grameen Software Grameen Cybernet Grameen Telecom เป็นต้น

ความสำเร็จของรูปแบบ Grameen นั้นทางด้าน Microfinancing นั้น ทำให้แนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาไปกว่า 100 ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก หรือแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา

การให้กู้ยืมเงินส่วนใหญ่จะเป็นการปล่อยกู้ให้กับผู้หญิง (กว่า 94%) เพื่อให้ผู้หญิงได้มีอาชีพ และหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวได้

Yunus และ Grameen Bank ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพในปี 2006 จากความพยายามที่จะสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม

"Muhammad Yunus has shown himself to be a leader who has managed to translate visions into practical action for the benefit of millions of people, not only in Bangladesh, but also in many other countries. Loans to poor people without any financial security had appeared to be an impossible idea. From modest beginnings three decades ago, Yunus has, first and foremost through Grameen Bank, developed micro-credit into an ever more important instrument in the struggle against poverty."

นั่นคือคำชื่นชมของคณะกรรมการรางวัลโนเบลที่มีต่อ Yunus ชาวบังคลาเทศคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยหลังจากที่ Yunus ได้รางวัลพร้อมเงิน 1.4 ล้านเหรียญ เขาประกาศว่าจะนำเงินดังกล่าวมาตั้งบริษัทผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงในราคาประหยัด และสร้างโรงพยาบาลรักษาโรคทางสายตาให้กับคนยากจนในประเทศ

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ Yunus ได้แสดงจิตใจที่เมตตา และวิสัยทัศน์ที่ควรได้รับการยกย่องจากพลโลก

No comments: