Thursday, May 1, 2008

Lance Armstong

Lance Armstrong - "It's not about the bike, It's about the heart."




SESTRIERE, ITALY, 13 JUL 99 - Lance Armstrong of the USA celebrates as he wins the first mountains stage of the Tour de France cycling race from Le Grand Bornand in France to Sestriere in Italy (213.5 km) July 13. Lance Armstrong is first placed in the overall standings. jna/Photo by Jacky Naegelen REUTERS
http://www.bikecal.com/












หากจะกล่าวถึงตำนานคำที่ยังมีชีวิตอยู่ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกเด็กเล็กแดง จนถึงคนชรา ตั้งแต่นักกีฬา จนถึงคนพิการ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนผู้นี้จะต้องเป็นอันดับต้นๆในใจของผู้คนทั่วไปอย่างแน่นอน คนที่ฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ ก้าวผ่านความเป็นไปไม่ได้ด้วยความแข็งแกร่งของจิตใจ จนมีคำกล่าวที่โด่งดังไม่ทั่วโลกว่า "It's not about the bike" (ชื่อหนังสือของ Lance) เขาคือ Lance Armstrong


Lance Amstrong (ชื่อเต็มคือ Lance Edward Gunderson - นามสกุลของพ่อเลี้ยง) เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน 1971 เมืองพลาโน รัฐแท็กซัส พ่อของเขาทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่เด็ก ๆ แม่ของเขา (Linda) ซึ่งท้องตั้งแต่อายุ 17 ปีเป็นผู้เลี้ยงดูเขา เธอให้ความรักและแรงสนับสนุน Lance อย่างเต็มที่


ตอนเรียนประถม Linda ซื้อจักรยานคันแรกยี่ห้อชวินน์ (Schwinn) ให้เขา จากนั้น Lance ก็ชื่นชอบจักรยานหันมาเอาดีทางกีฬา หลังจากการฝึกซ้อมอย่างหนัก ทำให้ Lance ได้เป็นแชมป์ไตรกีฬารุ่นผู้ใหญ่ตอน 12 ขวบ ก่อนจะได้เป็นนักไตรกีฬาอาชีพตอนอายุ 16 ปี


หลังจากความสำเร็จในวัยเด็ก Lance จึงออกล่ารางวัลไปทั่วเท็กซัส ได้เป็นนักกรีฑาทีมชาติตอนอายุ 18 ปี แต่นั่นยังไม่เพียงพอสำหรับ Lance Amtrong


เขาหันกลับไปปั่นจักรยานซึ่งเป็นกีฬาที่เขาถนัดที่สุด ในปี 1992 Lance ในวัยเพียง 21 ปีได้อันดับที่ 14 ในกีฬาโอลิมปิก และเริ่มไต่เต้าขึ้นอย่างรวดเร็ว


ในปีถัดมา Lance ได้แชมป์โลกยูซีไอ (UCI Road World Championships) หลังจากนั้นเขาจึงได้สมัครเข้าแข่งขันรายการจักรยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกคือ “Tour de France” (ตูร์ เดอ ฟรองซ์)

ในระยะแรก Lance สามารถเอาชนะในรายการแข่งขันประเภทจับเวลา และช่วงขึ้นเขา แต่เวลารวมของทีมยังไม่ดี เพราะยังขาดประสบการณ์ในการแข่งประเภทอื่นๆ


Lance ตั้งใจฝึกฝนอย่างหนัก และออกล่ารางวัลไปทั่วยุโรป แต่เรื่องไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น


Lance รู้ตัวว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1996 เขาต้องเขาทำการบำบัดด้วยคีโม จนผมร่วงหมดหัว ร่างกายและกล้ามเนื้ออ่อนแอ จนไม่มีใครคิดว่าเขาจะกลับมาถีบจักรยานไ้ด้อีก แฟนก็ทิ้งเขา ทีมและสปอนเซอร์ต่างยกเลิกสัญญาจนหมด แต่ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น เข้มเข็ง และกำลังใจจากคนที่รักเขามากที่สุดคือแม่ เขาสามารถเอาชนะโรคร้ายมาได้และกลับมาปั่นจักรยานอีกครั้ง เขาค่อย ๆ ฝึกวันละนิด หลักจากนั้นอีก 4 ปีเขาก็ได้พิสูจน์ให้โลกเห็น เมื่อได้เป็นแชมป์ Tour de Franceในปี 1999 เป็นครั้งแรก


ไม่กี่ปีให้หลัง Lance Amstron ได้รางวัล Tour de France ถึง 7 สมัยติดต่อกัน (ปี 1999-2005) ทำลายสถิติแชมป์ 5 สมัยของ Miguel Indurain, Bernard Hinault, Eddy Merckx และ Jacques Anquetil ลงอย่างงดงาม (Miguel นั้นเป็นคนเดียวที่ได้แชมป์ 5 สมัยติดต่อกัน)


ในปี 1999 เขาได้รับชัยชนะในการแข่งขัน ABC's Wide World of Sports Athlete of the Year ในอีก 3 ปี ถัดมา (2002) นิตยสาร Sport Illustrated ได้ยกย่องให้เขาเป็น Sportman of the year นอกจากนี้ยังยกย่อง Lance ให้เป็น Associated Press Male Athlete of the Year ในปี 2002, 2003, 2004 และ 2005 เขาได้รับรางวัล ESPY Award จาก ESPN สำหรับการเป็น Best Male Athlete ในปี 2002, 2003, 2004 และ 2005 นอกจากนี้ัยังได้รางวัล BBC Sports Personality of the Year Overseas Personality ในปี 2003


Lance เลิกถีบจักรยานอาชีพในวันที่ 24 กรกฎาคม 2005 หลังจากการได้แชมป์การแ่ข่งขัน Tour de France ปีนั้น ในวัย 33 ปี


ความสำเร็จของ Lance และหนังชีวิตของเขาจากการรอดตายจากโรคมะเร็ง ที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ของเขาให้สร้างตำนานแห่งวงการการกีฬา ส่งผลให้ Nike ร่วมกับ มูลนิธิ Lance Amtrong Foundation ซึ่ง Lance เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการดำเนินงาน ซึ่งก่อตั้งในปี 2004 ผลิต Wristband คล้องข้อมือ สลักชื่อ “Livestrong” ออกขายในปี 2004 และสามารถนำรายได้ได้กว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,900 ล้านบาท) เพื่อโครงการการต่อต้านมะเร็ง กิจการของมูลนิธิส่งผลให้ Lance เป็นบุคคลสำคัญในวงการองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรไปโดยปริยาย


คงไม่ต้องบรรยายอะไรไปมากกว่านี้สำหรับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของ Lance Amstrong ผู้ที่แสดงให้โลกรับรู้ถึงสัจธรรมอันยิ่งใหญ่ แห่งความเพียรมานะ ความเชื่อมั่น และความรัก ที่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างในโลกได้ สมดังคำพูดอันยิ่งใหญ่ของ Lance


"It's not about the bike, It's about the heart"

Wednesday, April 30, 2008

ว.วชิรเมธี

ว.วชิรเมธี-พระนักเทศน์แห่งศตวรรษที่ 21








picture from
http://www.thaitv3.com/ ว.วชิรเมธี ขณะเรียนศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัย








คงเป็นความขัดแย้งกับค่านิยมทางสังคมพอสมควร สำหรับพ่อแม่ที่คาดหวังให้ลูกของตนเรียนสูงถึงระดับปริญญา หางานที่ดีทำ และมีเงินทองมากมาย หากวันหนึ่งลูกที่น่ารักของตัวเองขอออกบวชเมื่อจบชั้นประถม 6 แต่สำหรับพ่อแม่ของ ว.วชิรเมธี นั้น ท่านยินยอมให้ลูกของท่านเดินตามความฝัน ฝันที่แตกต่าง เส้นทางที่แตกต่าง นำมาสู่ความเป็น และประโยชน์แก่สังคมในรูปแบบที่ต่างออกไป

ว. วชิรเมธี เป็นนามปากกาของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่บ้านครึ่งใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ท่านเป็นคนที่รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า จึงทำให้ท่านซึมซับความรู้ทุกรูปแบบ

เมื่อยังเด็ก มารดาได้พาท่านไปทำบุญที่วัดบ่อยๆ ทุกวันพระ ซึ่งผลจากการติดตามมารดาไปทำบุญบ่อยๆ นี้เอง ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสนใจหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา และทำให้หนังสือที่ท่านอ่านไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงหนังสือความรู้หรือหนังสือบันเทิงทั่วไปเท่านั้น แต่หนังสือธรรมะก็เป็นหนังสือที่ท่านสนใจด้วยเช่นกัน

หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ท่านก็ได้ขออนุญาตมารดาบวชเป็นสามเณรที่วัดครึ่งใต้ แตกต่างจากเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันที่มุ่งเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก แล้วย้ายมาพำนักอยู่ที่วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๖ ประโยค ต่อมาเมื่ออายุครบ๒๑ ปีจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเกิด และย้ายมาพำนักที่วัดเบญจมบพิตร ในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีต่อจนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่งถือเป็นการศึกษาขั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย ด้านการศึกษาทางโลกนั้น ท่านสำเร็จการศึกษาเป็น ศึกษาศาสตรบัณฑิต” (สังคม-มัธยมศึกษา)จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต” จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ปัจจุบันท่านได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์สอนนักศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ นอกจากนั้นก็ยังรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้กับหน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย ในแง่จริยวัตรส่วนตัวนั้นนอกจากท่านจะเป็นพระนักวิชาการ พระนักคิด นักเขียน แล้วท่านก็ยังสนใจฝึกสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปี

ผลงานที่สำคัญของ ว.วิชรเมธี อันเป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทยปัจจุบันมีเกือบ 20 เล่ม ผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น ธรรมะติดปีก, ธรรมะหลับสบาย, ธรรมะดับร้อน, ธรรมะบันดาล, ธรรมะรับอรุณ, ธรรมะราตรี, ปรัชญาหน้ากุฏิ, ปรัชญาหน้าบ้าน, DNA ทางวิญญาณ, ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา และท่านยังได้เขียนบทความลงในนิตยสารหลายฉบับ เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์, ชีวจิต, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, WE, HEALTH &CUISINE ฯลฯ

ว.วชิรเมธี มีความโดดเด่นต่างจากพระรูปอื่นๆในสังคมไทยเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากลักษณะหนังสือที่ท่านอ่าน ท่านเขียน รูปแบบของปรัชญา และข้อคิดของท่าน ซึ่งเข้าใจความเป็นไปของสังคมอย่างแท้จริง ทำให้คนฟัง-อ่าน เข้าใจ และชื่นชม

เส้นทางที่แตกต่าง นำมาสู่การสร้างสรรค์ที่แตกต่าง ของคนที่แตกต่าง คนที่น้อมนำธรรมะมาเป็นเส้นทางของชีวิต และ่ถ่ายทอด เพื่อความสงบร่มเย็นแห่งจิตใจของทุกคน

Mohammad Yunus

เพื่อช่วยผู้คนให้พ้นจากความยากจน - Banker of the Poor
Mohammad Yunus


Bangladeshi Nobel Peace Prize winner Muhammad Yunus is kissed by his daughter Dina after receiving the news that he won the award on Friday.
จากเวปไซต์http://www.msnbc.msn.com/

หากว่าคุณเป็นลูกเศรษฐี แล้วได้เรียนจบถึงระดับปริิญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา คุณจะนำวิชาความรู้ของคุณไปทำอะไร หลายคนคงคิดจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ไม่ก็นายธนาคารที่สามารถทำรายได้ได้มหาศาล Yunus ก็เป็นคนที่มีเงื่อนไขดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่เขาเลือกเส้นทางชีวิตต่างจากคนอื่นๆ

Mohammad Yunus เกิดในเมือง จิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ (East Pakistan ในอดีต) ในปี 1940 บังคลาเทศได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีพลเมืองซึ่งยากจนเป็นจำนวนมากมากติดอันดับต้นๆของโลก ภัยธรรมชาติทำให้หลายคนไร้ที่อยู่อาศัย หรือแม้กระทั่งงานทำ การศึกษาัยังไม่สามารถเข้าไปถึงผู้คนในประเทศได้อย่างเพียงพอ

Yunus เป็นลูกคนโตของครอบครัวพ่อค้าเพชรชาวมุสลิม เขามีพี่น้อง 9 คน ในวัย 4 ขวบ Yunus และครอบครัวย้ายบ้านไปอยู่ในตัวเมืองจิตตะกอง Yunus ได้เริ่มเรียนประุถมศึกษา ณ ที่นั้น

Yunus เป็นคนเรียนเก่ง ทำให้ได้มีโอกาสเรียนที่ Chittagong College ซึ่งเป็นมหาลัยชื่อดังในประเทศ ณ ที่นั้น Yunus เป็นแสดงความเป็นนักกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบังคลาเทศ และได้รับรางวัลด้านการแสดง หลังจากนั้น เขาได้เข้าศึกษาต่อคณะเศรษฐศาสตร์ที่ Dhaka University จนจบปริญญาตรี และปริญญาโท (1961)

หลังจากเีรียนจบ Yunus ได้ทำงานที่สำนักงานทางด้านเศรษฐศาสตร์ในตำแหน่งผู้ช่วยวิจัย ก่อนจะไปศึกษาต่อระดับ Ph.D. ที่ Vanderbilt University สหรัฐอเมริกา ในสาขา Economic Development หลังจากนั้นก็ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ Middle Tennessee State University อีก 3 ปี

ช่วงปี 1971 ซึ่งเป็นช่วงระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของบังคลาดเทศ Yunus ได้ก่อตั้งคณะกรรมการชาวบังคลาเทศขึ้น และดูแลศูนย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบังคลาเทศในสหรัฐอเมริกาเพื่อสนับสนุนการประกาศเอกราช นอกจากนี้เขายังจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ Bangladesh Newspaper ขึ้นอีกด้วย


หลังจากสงคราม Yunus กลับสู่บังคลาเทศ และได้เข้าทำงานในคณะกรรมการวางแผนทางเศรษฐกิจของประเทศ Yunus รู้สึกว่างานดังกล่าวเป็นงานที่น่าเบื่อ เขาลาออกมาเป็นคณบดีของคณะเศรษฐศาสตร์ ของ Chittagong University ณ ที่นี้ เขาได้ทำงานเกี่ยวกับการขจัดปัญหาความยากจน

หลังจากภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าที่เกิดขึ้นในปี 1974 เขาได้ตั้งโครงการเกี่ยวกับการวิจัยเศรษฐศาสตร์ทางภาคเกษตร หลังจากนั้นก็ไม่มีการจัดทำโครงการต่างๆในเวลาต่อมา

จนกระทั่งในปี 1976 เมื่อ Yunus ได้ไปเยี่ยมเยียมครอบครัวที่ยากจนที่สุดในหมู่บ้านโจบร้า ใกล้ Chittagong University เค้าค้นพบว่าการให้เงินกู้ปริมาณน้อย สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับคนยากจนได้ หญิงในหมู่บ้านโจบร้ามีอาชีพขายเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากไม้ไผ่จำเป็นต้องกู้เงินดอกเบี้ยสูง เพื่อซื้อไม้ไผ่ ทำให้รายได้จากการขายเฟอร์นิเจอร์ต้องขาดหายไป

Yunus ลองให้หญิงในหมู่บ้านกว่า 42 คนกู้เงิน (เงินดังกล่าวนั้นรวม 27 ดอลลาร์สหรัฐจากกระเป๋าของเขาตอนนั้นด้วย) โดยมีกำไรประมาณ 2 เซนต์ ต่อการปล่อยกู้ต่อ 1 คน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของแนวคิด Micro Credit อันยิ่งใหญ่

จริงๆแล้ว Micro Credit ไม่ใช่ความคิดใหม่ มีการพยายามจัดสรรเงินกู้แบบเดียวกันให้กับชาวบ้านอยู่แ้ล้ว แต่สำหรับ Yunus ซึ่งได้บนเรียนมาจากหมู่บ้านโจบร้า ทำให้เขารู้ว่าการจะให้เงินกู้ดังกล่าวจะต้องให้กับคนยากจนผู้ซึ่งไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่เหมือนธนาคารทั่วไปที่พยายามจะไม่ปล่อยกู้ให้กับคนยากจน เพราะกลัวไม่ได้เงินคืน Yunus มองว่าการให้โอกาสคนยากจน จะทำให้พวกเขาลืมตาอ้าปากได้

หลังจากนั้นในเดือน ธันวาคม 1976 Yunus ได้ประสบความสำเร็จในการได้แหล่งเงินกู้จากรัฐ (Janata Bank) เพื่อปล่อยกู้ให้กับคนยากจนในโจบร้า ภายใน 6 ปี Janata Bank มีสมาชิกกว่า 28,000 คน และพัฒนามาเป็น Grameen Bank (Village Bank) ในปี 1983 (1 ตุลาคม) โดยมีเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อให้แ่ก่คนยากจนในบังคลาเทศโดยเฉพาะ Yunus และทีมของเขาต้องต่อสู้อย่างหนักกับกับทุกๆอย่าง ตั้งแต่กลุ่มซ้ายจัด จนถึงกลุ่มนักบวชอนุรักษ์นิยมที่ขู่หญิงชาวบ้านว่า ได้ไม่ได้รับอนุญาติให้เข้างานศพของมุสลิม หากรับเงินจาก Grameen Bank

ในเดือนกรกฎาคม 2007 Grameen Bank ได้ปล่อยสินเชื่อเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 6.38 พันล้านเหรียญ ให้แ่ก่ลูกหนี้กว่า 7.4 ล้านคน

สำหรับการสร้างความเชื่อมั่นในการได้เงินคืนจากชาวบ้านนั้น Grameen Bank ได้ใ้ช้ระบบ "Solidarity Groups" (กลุ่มสามัคคี) โดยให้กู้ยืมเงินเป็นกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มจะเป็นผู้คํ้าประกันให้กันและกันในการกู้ยืม นอกจากนี้ Grameen Bank ยังได้ขยายการช่วยเหลือออกไปในด้านอื่นๆอีก ตั้งแต่ปี 1980 เ่ช่น Grameen Motsho (Grameen Fisheries Foundation) Grameen Krishi (Grameen Agriculture Foundation) Grameen Trust Grameen Fund Grameen Software Grameen Cybernet Grameen Telecom เป็นต้น

ความสำเร็จของรูปแบบ Grameen นั้นทางด้าน Microfinancing นั้น ทำให้แนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาไปกว่า 100 ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก หรือแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา

การให้กู้ยืมเงินส่วนใหญ่จะเป็นการปล่อยกู้ให้กับผู้หญิง (กว่า 94%) เพื่อให้ผู้หญิงได้มีอาชีพ และหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวได้

Yunus และ Grameen Bank ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพในปี 2006 จากความพยายามที่จะสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม

"Muhammad Yunus has shown himself to be a leader who has managed to translate visions into practical action for the benefit of millions of people, not only in Bangladesh, but also in many other countries. Loans to poor people without any financial security had appeared to be an impossible idea. From modest beginnings three decades ago, Yunus has, first and foremost through Grameen Bank, developed micro-credit into an ever more important instrument in the struggle against poverty."

นั่นคือคำชื่นชมของคณะกรรมการรางวัลโนเบลที่มีต่อ Yunus ชาวบังคลาเทศคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยหลังจากที่ Yunus ได้รางวัลพร้อมเงิน 1.4 ล้านเหรียญ เขาประกาศว่าจะนำเงินดังกล่าวมาตั้งบริษัทผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงในราคาประหยัด และสร้างโรงพยาบาลรักษาโรคทางสายตาให้กับคนยากจนในประเทศ

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ Yunus ได้แสดงจิตใจที่เมตตา และวิสัยทัศน์ที่ควรได้รับการยกย่องจากพลโลก

Jack Ma


ครูนักไซเบอร์ผู้เปลี่ยนแปลงเมืองจีน
Jack Ma (แจ๊ค มา)

Jack Ma, CEO of Alibaba, which uses the Internet to link Chinese producers with purchasers worldwide. Alibaba

จากเวปไซต์ http://www.npr.org/

คนจีนสร้างเวประดับโลก!! หากพูดเรื่องนี้คงจะฟังขัดหูขัดตาไปบ้าง เพราะในมโนภาพของคนหลายๆคน เวประดับโลกมักถูกสร้างโดยหนุ่มนักเรียนอเมริกัน ที่นั่งวุ่นทำงานอยู่กับเพื่อน และรํ่ารวยทั้งๆที่ยังเรียนไม่จบ และยิ่งบอกว่า เป็น web ที่สร้างมาชนกับ e-bay แล้วคงยากที่จะเชื่อว่าคนจีนคนนี้ทำได้ เขาคือ Jack Ma

Jack Ma เกิดที่เมืองหังโจว จังหวัดเจ้อเจียง ประเทศจีน Ma เข้าเรียนวิทยาลัยครูของเมืองบ้านเกิดของเขา ในปี 1988 โดยก่อนหน้าที่จะเข้าวิทยาลัยครูนั้น Ma สอบเอนทรานซ์ไม่ติดถึง 2 ครั้ง

หลังจาก Ma เรียนจบวิทยาลัยครู เขาก็ได้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และการค้าขายระหว่างประเทศ ในวิทยาลัยดังกล่าว

Ma เคยก่อตั้งกิจการเกี่ยวกับการให้บริการมาแล้ว ก่อนจะหันหน้าเข้าสู่โลกอินเตอร์ิเน็ต โดยเขาเคยให้สัมภาษณ์กับ New York Times เกี่ยวกับเรื่องราวปานหนังชีวิตของเขา เหมือนๆชาวจีนทั่วไปที่แสวงหาความมั่งคั่ง Ma เคยเดินทางไปทำมาค้าขายที่สหรัฐอเมริกาในปี 1995 Ma เริ่มทำธุรกิจการค้า ณ ที่นั่น บริษัทอเมริกันแห่งหนึ่งในเมือง Malibu รัฐ California ซึ่งเป็นหนี้ไม่ยอมจ่ายเงินให้กับ Ma ลักพาตัวเขาไปกักขังไว้ถึง 2 วัน โดยเขาเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้รับการปลดปล่อยโดยรับปากจะช่วยนักธุรกิจอเมริกันผู้นั้นตั้งบริษัทให้บริการทาง Internet ในประเทศจีน ทั้งๆที่ Ma ไม่ได้มีความรู้ใดๆเกี่ยวกับธุรกิจนี้เลย

หลังจากนั้น Ma ไม่ได้ติดต่ออะไรกับคนที่ลักพาตัวเขาอีกเลยในเวลาต่อมา แต่เขาก็ได้กลับไปที่ประเทศจีน แล้วหยิบยืมเงิน 2,000 ดอลลาร์ เพื่อก่อตั้ง China Pages ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทอินเตอร์เน็ตรายแรกๆของประเทศ

Ma ได้เริ่มสร้าง website ให้แก่บริษัทต่างๆในจีน โดยได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนๆของเขาในสหรัฐ โดยเขากล่าวว่า "วันแรกที่เราได้เริ่มต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ต ผมได้ชวนเพื่อนฝูงทั้งหลายมาที่บ้านของผม การต่ออินเตอร์เน็ตครั้งแรกนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า เราต้องรอนานถึง 3 ชั่วโมงครึ่งเพื่อจะได้เห็นหน้า web ขึ้นมาซักครึ่งหน้า... เราดื่ม ดูทีวี เล่นไพ่ และก็รอ แต่ผมก็ภูมิใจที่ผมสามารถพิสูจน์ได้ว่าเราสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้จริงๆ"

หลังจากช่วงเวลาที่ Ma เป็นหัวหน้าของแผนก Infoshare ใน China International Electronic Commerce Center เขาได้สร้างเวปไซต์ Alibaba.com ในปี 1999 เป็น Business Marketplace Site ที่ให้บริการกับผู้คนกว่า 12 ล้านคน ใน 200 ประเทศทั่วโลก

ในปี 2003 Alibaba ได้ออกเวปไซต์น้องใหม่ Taobao.com เวปไซต์ประมูลที่มีลักษณะเดียวกับ eBey โดย Taobao.com ไ้ด้พัฒนาระบบการเก็บเงินออนไลน์ที่เรียกว่า Alipay ซึ่งเหมาะกับประเทศจีนที่ซึ่งบัตรเครดิต และเดบิตยังไม่แพร่หลายซักเท่าไหร่

ปัจจุบัน Ma ยังคงเป็น CEO และ ประธานของบริษัทของอยู่ หลังจาก Yahoo! ได้ซื้อหุ้น 40% ของ Alibaba ไป (สิทธิในการโหวต 35%) เป็นเงินราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ บวกกับสินทรัพย์ทั้งหมดของ Yahoo! ในประเทศจีนอีกกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้จะมี Softbank ของญี่ปุ่นมาร่วมถือหุ้นด้วยอีก 27.4%

นี่คือเรื่่องราวของกิจการ Internet ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และเป็นอีกหน้าหนึ่งของนวัตกรรมทางธุรกิจของจีน และเอเชีย ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความฝัน และความเพียรของชายตัวเล็กๆ วัย 40 ปีเศษ Jack Ma